เครื่องสำอางค์

เช็คเลขที่จดแจ้ง เครื่องสําอาง ง่ายนิดเดียว

เช็คเลขที่จดแจ้ง เครื่องสําอาง

หัวข้อแนะนำ

เช็คเลขที่จดแจ้ง เครื่องสําอาง  เครื่องสำอาง ก็นับเป็นสินค้าที่มีปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ เยอะ เพราะมีสารเคมีและส่วนประกอบมากมายที่ผู้ใช้และผู้บริโภคหลาย ๆ คน อาจต้องระวังในการใช้งานวันนี้เลยมาพูดถึงข้อแตกต่างตามแต่ละประเภทของเครื่องสำอาง เครื่องสำอางทั่วไป ควบคุม ควบคุมพิเศษมันมีอะไรบ้าง รวมไปถึงวิธีเช็กเลขจดแจ้ง เพื่อดูว่าสินค้าที่เราซื้อมาได้รับการรับรองจริง ๆ รึเปล่า จะได้ใช้สกินแคร์และเครื่องสำอางอย่างสบายใจกันค่าา

ประเภทของเครื่องสำอาง มีอะไรบ้าง

เช็คเลขที่จดแจ้ง เครื่องสําอาง  เลขจดแจ้งเครื่องสำอาง เลขอย. เครื่องสำอาง วิธีเช็คเลขอย. เครื่องสำอางในอดีต ประเภทของเครื่องสำอางได้ถูกแบ่งออกตามความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและร่างกายของผู้บริโภค ออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน

1. เครื่องสำอางทั่วไป เป็นเครื่องสำอางที่ไม่มีสารอันตราย หรือสารที่ต้องควบคุมพิเศษ จึงไม่จำเป็นต้องมีเลขทะเบียนในกรอบ อย. นั่นเองจ้า

ตัวอย่างเครื่องสำอางทั่วไป : แชมพูที่ปราศจากสารขจัดรังแค, ครีมนวดผม, โลชั่นทาผิว, ครีมบำรุงผิว, อายแชโดว์, อายไลเนอร์, ดินสอเขียนคิ้ว, บลัชออน, ลิปสติก, รองพื้น, แป้งทาหน้า, สบู่ทั้งแบบก้อนและแบบเหลว, โฟมล้างหน้า, บอดี้ออยล์, ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย, ยาทาเล็บ, มูสและเจลแต่งผม

2. เครื่องสำอางควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่ต้องระมัดระวังในการใช้ เพราะอาจมีผลกระทบกับร่างกายและสุขภาพอยู่บ้าง แม้จะไม่มีเลขทะเบียนในกรอบอย. แต่ผู้ผลิตก็ยังต้องแจ้งรายละเอียดต่อหน่วยงานรัฐก่อนเริ่มผลิตหรือก่อนนำเข้า เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยก่อนนำมาจัดจำหน่ายจ้า

ตัวอย่างเครื่องสำอางควบคุม : ผ้าอนามัย ทั้งชนิดแผ่น และชนิดสอด, ผ้าเย็นหรือกระดาษในภาชนะบรรจุที่ปิด, แป้งฝุ่นโรยตัว, แป้งน้ำ, ครีมกันแดด, แชมพูที่มีสารขจัดรังแคจำพวก ซิงก์ไพริไทโอน, ไพรอกโทน โอลามีน และ คลิมบาโซล

3. เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เป็นเครื่องสำอางที่มีสารควบคุมพิเศษ มีความเสี่ยงสูงต่อผู้ใช้และผู้บริโภค จำเป็นต้องได้รับการควบคุมดูแลและขึ้นทะเบียนตำรับก่อน เมื่อได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียนตำรับเรียบร้อยแล้ว จะได้รับเลขอย. เพื่อนำมาดำเนินการผลิตและนำเข้าเพื่อจัดจำหน่ายได้นั่นเอง

ตัวอย่างเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ : ยาสีฟัน, น้ำยาบ้วนปาก, ไหมขัดฟันที่มีฟลูออไรด์, น้ำยาบ้วนปากที่มีเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์, ผลิตภัณฑ์ดัดผม/ยืดผม, ผลิตภัณฑ์ย้อมผม, ผลิตภัณฑ์ฟอก/ปรับเปลี่ยนสีผม, ผลิตภัณฑ์แต่งสีผมที่มีส่วนผสมของเลดแอซีเทต และผลิตภัณฑ์กำจัดขน/ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ขนหลุดร่วง

กฎหมายอย.ที่เกี่ยวกับเครื่องสำอางในปัจจุบัน

ปัจจุบัน เครื่องสำอางทุกแบบ ได้เปลี่ยนเป็นเครื่องสำอางควบคุมเรียบร้อยแล้วว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 สำหรับเครื่องสำอางที่ได้วางขายไปก่อนหน้านั้น มีการเรียกกลับมาให้ทำการจดแจ้ง โดยการยื่นรายละเอียดต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ ให้ทางอย.ตรวจสอบก่อนขึ้นทะเบียนรับรอง โดยจะต้องมีข้อมูลคร่าว ๆ ดังนี้เล้ยย

1. ชื่อแบรนด์
2. ชื่อสินค้า
3. ประเภทของเครื่องสำอาง หรือ วัตถุประสงค์ในการใช้
4. ส่วนผสมทั้งหมด เรียงลำดับจากความเข้มข้นมากไปน้อย และระบุ % สำหรับส่วนผสมที่ อย.กำหนดให้เป็นสารควบคุมปริมาณ โดยชื่อสารทั้งหมดต้องเป็นชื่อตามตำราที่ทางอย.กำหนดไว้
5. ผู้รับผิดชอบการวางตลาด / ผู้แบ่งบรรจุ/ผู้ผลิต

เมื่อข้อมูลทั้งหมด ผ่านการตรวจสอบแล้ว ทางอย.จึงจะอนุมัติเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลักให้กับสินค้านั้น ๆ โดย เลข 10 หลักที่ อย. อนุมัติให้ สามารถอธิบายความหมายได้ดังนี้จ้าา

เลขจดแจ้งเครื่องสำอาง เลขอย. เครื่องสำอาง วิธีเช็คเลขอย. เครื่องสำอาง

2 หลักแรก บอกถึงจังหวัดที่ผลิต / จังหวัดที่แจ้งรายละเอียด
หลักที่ 3 บ่งบอกว่าสินค้านั้นเป็นตัวที่ผลิตเอง , นำเข้า หรือผลิตเพื่อส่งออก
หลักที่ 4 และ 5 บอกถึงปีพ.ศ.ที่แจ้งรายละเอียดสินค้า
หลักที่ 6-10 เป็นลำดับของการออกใบรับแจ้งในปีพ.ศ. นั้น ว่าผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าดังกล่าวผ่านการอนุญาตลำดับที่เท่าไหร่
ตัวอย่างเช่น 10-1-65-99999 หมายถึง
10 หมายถึง แจ้งรายละเอียดที่กรุงเทพฯ
1 หมายถึง ผลิต
65 หมายถึง แจ้งในปี พ.ศ. 2565
88888 หมายถึง เลขใบรับแจ้งลำดับที่ 88888 และออกในปี พ.ศ. 2565 นั่นเองง
เลขที่ใบรับแจ้ง หรือเลข 10 หลัก เป็นตัวที่บ่งบอกว่าเครื่องสำอางชิ้นนั้น ๆ ได้แจ้งรายละเอียดตามข้อกำหนดของกฏหมายแล้วเรียบร้อยย ผ่านการรับรองจากอย.ว่าได้รับการควบคุมและตรวจสอบก่อนดำเนินการ การผลิต นำเข้า ส่งออก และจัดจำหน่ายไปถึงมือลูกค้าค่าา ~

วิธีเช็กเลขจดแจ้งอย. บนเครื่องสำอาง

เลขจดแจ้งเครื่องสำอาง เลขอย. เครื่องสำอาง วิธีเช็คเลขอย. เครื่องสำอางในปัจจุบันภาครัฐและหน่วยงานที่ควบคุมส่วนนี้ ได้กำหนดให้ “เลขที่ใบรับแจ้ง” หรือเลข 10 หลัก เป็นข้อความที่จำเป็นจะต้องระบุลงบนฉลากของสินค้า เพื่อให้ผู้ใช้ หรือผู้บริโภคตรวจสอบข้อมูลของสินค้านั้นได้ ด้วยการค้นหาข้อมูลของสินค้านั้น ๆ ผ่านฐานข้อมูลของอย. หรือเว็บไซต์

เพียงกรอกเลข 10 หลักที่อยู่หลังคำว่า “เลขที่ใบรับแจ้ง” บนผลิตพันธ์ และทำการค้นหาได้เลย ด้านในจะมีข้อมูลของผู้ผลิต ประเภทสินค้า และข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ให้ผู้ใช้ / ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่เราเลือกซื้อนั้นได้รับการรับรองว่าใช้ได้ ใช้แล้วปลอดภัยต่อสุขภาพจ้าาก็จบแล้วกับประเภทของเครื่องสำอางและการตรวจสอบเลขจดแจ้งแบบง่าย ๆ นับเป็นอีกช่องทางให้สมาชิกได้ตรวจสอบสกินแคร์และเครื่องสำอางว่าปลอดภัย ใช้แล้วไม่มีผลต่อสุขภาพก่อนการใช้งานกันน้าา ผิวและร่างกายของเรานั้นมันบอบบาง อย่าใช้อะไรสุ่มสี่สุ่มห้านะจ๊ะ เพราะเวลารักษา มันทั้งเสียเวลาเสีย ทั้งเสียเงินไปฟรี ๆ ด้วยความหวังดี  เช็คเลขที่จดแจ้ง เครื่องสําอาง